มอบชุดกีฬา ของขวัญวันเด็ก สำหรับน้องๆ โรงเรียนวัดสะนำ
Joomla 4 กับเครื่องมือ Accessibility Check
Joomla 4 กับเครื่องมือ Accessibility Check
Joomla 4 มาพร้อมกับเครื่องมือ Accessibility Check ความใส่ใจเว็บไซต์ที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างปราศจากอุปสรรค
Joomla หรือ WordPress เลือกอะไรดี?
การเลือกใช้ Joomla หรือ WordPress ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน และความเชี่ยวชาญของผู้พัฒนา/ผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ มีแนวทางในการพิจารณาดังนี้:
WordPress
ข้อดี:
- ใช้งานง่าย: เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น มีอินเทอร์เฟซที่เข้าใจง่าย
- ปลั๊กอินมากมาย: มีปลั๊กอินให้เลือกใช้มากมาย เพิ่มฟังก์ชันการทำงานได้หลากหลาย
- ธีมหลากหลาย: มีธีมให้เลือกใช้ทั้งฟรีและพรีเมียม
- ชุมชนใหญ่: มีการสนับสนุนและแหล่งเรียนรู้มากมาย
- SEO-Friendly: ออกแบบมาให้เป็นมิตรกับ SEO
ข้อเสีย:
- ข้อจำกัดในการปรับแต่ง: การปรับแต่งที่ซับซ้อนอาจต้องใช้ความรู้ในการเขียนโค้ด
- ปัญหาด้านความปลอดภัย: เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ ต้องอัปเดตเป็นประจำ
Joomla
ข้อดี:
- ความยืดหยุ่น: เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ซับซ้อน มีการจัดการผู้ใช้หลายระดับ
- รองรับหลายภาษา: รองรับหลายภาษาตั้งแต่เริ่มต้น
- การจัดการผู้ใช้ที่แข็งแกร่ง: มีฟีเจอร์ในการจัดการผู้ใช้ที่หลากหลาย
- การปรับแต่งที่หลากหลาย: เหมาะสำหรับการสร้างเนื้อหาที่ซับซ้อน เว็บไซต์ที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่
ข้อเสีย:
- เรียนรู้ยากกว่า: มีความซับซ้อนมากกว่าสำหรับผู้เริ่มต้น
- ปลั๊กอินและธีมมีน้อยกว่า: แม้ว่าจะมีอยู่มาก แต่ก็ยังน้อยกว่า WordPress
- ชุมชนเล็กกว่า: ชุมชนมีขนาดเล็กกว่าทำให้มีแหล่งข้อมูลน้อยกว่า
สรุป
- เลือก WordPress หากคุณต้องการเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและต้องการให้สร้างได้เร็ว เหมาะสำหรับบล็อก ธุรกิจขนาดเล็ก หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ไม่ซับซ้อน
- เลือก Joomla หากคุณต้องการฟังก์ชันที่ซับซ้อนกว่า เช่น การจัดการผู้ใช้หลายระดับหรือเว็บไซต์ที่ต้องการรองรับหลายภาษา เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่หรือแอปพลิเคชันที่ซับซ้อน
ทั้งนี้การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเชี่ยวชาญของผู้พัฒนา/ผู้ดูแลระบบ เพราะเว็บไซต์ควรได้รับการดูแลและอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
สนใจพัฒนาเว็บไซต์ด้วย Joomla , WordPress / ดูแลเว็บไซต์ ติดต่อ 086 407 6956 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
การใส่ฟอนต์จาก กูเกิล ลง จูมล่า โดยไม่ต้องไปแก้เทมเพลต
การใส่ฟอนต์จาก กูเกิล ลง จูมล่า โดยไม่ต้องไปแก้เทมเพลต เราจะใช้ Plugin ช่วยในการใส่เพื่อเราจะได้ไม่ต้องไปยุ่งกับเทมเพลต โดยจะใช้ Plugin CSSConfig โหลดที่ https://github.com/JoomlaEmpresaSLorg/plg_system_cssconfig/releases/ ไปดูการใช้งานจากวีดีโอ
code ที่จะนำไปใส่
@import url('https://fonts.googleapis.com/css2?family=Athiti&family=Chakra+Petch&family=Charm&family=Charmonman&family=Chonburi&family=Fahkwang&family=Itim&family=K2D&family=Kanit&family=KoHo&family=Kodchasan&family=Mali&family=Mitr&family=Niramit&family=Pridi&family=Sarabun&family=Sriracha&family=Srisakdi&family=Taviraj&family=Thasadith&family=Trirong&display=swap');
ตัวอย่าง
h1, h2, h3, h4, h5, h6 { font-family: 'Kanit', sans-serif; } body h1, body h2, body h3, body h4, body h5, body h6 { font-family: 'Mitr', sans-serif; font-size:28px; }
การใส่ฟอนต์จาก กูเกิล ลง จูมล่า ต้องหาคลาสของแต่ละเทมเพลตให้เจอนะครับ แต่ละเทมเพลตของจูมล่าจะใช้คลาสที่ต่างกันไป
การสมัครใช้ Google Analytics (GA4) และนำไปใส่ในเว็บไซต์ (สำหรับคนที่ไม่เคยสมัครใช้ google analytics มาก่อน)
การสร้าง Account Google Analytics (GA4) และนำ ID ไปใส่ในเว็บไซต์ (สำหรับคนที่ไม่เคยสมัครใช้ google analytics มาก่อน)
การใช้งาน google analytics ต้องมี google account ก่อน (หรือมีอีเมล gmail) ดังนั้นก่อนเริ่มขั้นตอนในการสร้าง account ใน google analytics หากยังไม่มี google account หรือ อีเมล gmail ให้ไปสมัครก่อน ( ดูวิธีการสร้างบัญชี Google https://support.google.com/accounts/answer/27441?hl=th )
สร้าง Account ใน Google Analytics
ไปที่ analytics.google.com https://analytics.google.com จากนั้น login ด้วย google account (หรือ gmail) ที่มี
คลิกที่ เริ่มวัด
สร้างบัญชี
- ในช่อง ชื่อบัญชีใหม่ของฉัน : ใส่ชื่อเว็บไซต์
คลิกที่ ถัดไป
สร้างพร็อพเพอร์ตี้
- ชื่อพื้นที่: ใส่ชื่อเว็บไซต์
- เขตเวลาในการรายงาน: เลือก ไทย และ (GMT+07:00) เวลาไทย
- สกุลเงิน: บาท
จากนั้นคลิก ถัดไป
เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ
- ตอบคำถามทั้ง 2 ข้อ
- คลิกที่ สร้าง
ข้อกำหนดในการให้บริการ
- คลิกที่สี่เหลี่ยมหน้าข้อความ ฉันยอมรับ .. แล้วคลิกที่ ฉันยอมรับ
การสื่อสารทางอีเมลของฉัน
- เลือกว่าจะรับอีเมลแจ้งเตือนอะไรบ้าง (เลือกทั้งหมด หรือ ไม่เลือกเลยก็ได้)
- คลิกที่บันทึก
ตั้งค่า สตรีมข้อมูล
เมื่อระบบบันทึกเรียบร้อย ให้คลิกที่ สตรีมข้อมูล
คลิกที่ เว็บไซต์
ตั้งค่าสตรีมข้อมูล
- URL เว็บไซต์: ในช่องว่างให้เอา URL ของเว็บไซต์มาใส่โดยไม่ต้องใส่ http , https (เพราะมีตัวเลือกอยู่ข้างหน้าให้อยู่แล้ว)
- ชื่อสตรีม: ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์
- ตรง การวัดที่ปรับปรุงแล้ว ให้สังเกตว่าด้านหลังเปิดอยู่
- จากนั้นคลิกที่ สร้างสตรีม
ระบบจะแสงรายละเอียดสตรีม ให้ copy ตรง รหัสการวัด เพื่อนำ id ไปใส่ในเว็บ
เมื่อคลิกที่พื้นที่ว่างเพื่อออกจากหน้ารายละเอียดสตรีม จะเห็นว่ามีรายการสตรีมข้อมูลอยู่ 1 รายการ
นำ id ไปใส่ในเว็บไซต์ Joomla
โดยในระบบหลังบ้านให้เข้าไปที่ Plugins
มองหา Plugin ชื่อ System – Advanced Google Analytics จากนั้นคลิกที่ชื่อ Plugin เพื่อเข้าไปหน้าแก้ไข ( ดาวน์โหลด plugin: https://extensions.joomla.org/extension/advanced-google-analytics/ )
ในช่อง Google Analytics ID นำ id ที่ copy จากหน้ารายละเอียด สตรีม มาใส่ในช่องนี้
จากนั้นในช่อง Status คลิกเลือก Enabled
คลิก Save & Close
ตรวจสอบว่า code ทำงานหรือไม่ ให้ไปที่หน้าเว็บ คลิกขวา เลือก View Page Source
ค้นหา code ด้วยคำว่า Analytics ถ้าใส่ถูกต้องจะเห็น code แสดงอยู่ตามตัวอย่าง
เปิดหน้าเว็บทิ้งไว้ แล้วกลับไปที่หน้า google analytics คลิกที่ icon home
ในช่อง ผู้ใช้ใน 30 นาทีที่ผ่านมา ถ้าใส่ id ถูกต้อง ในช่องนี้จะแสดงจำนวนผู้เข้าชม
กรณีใส่ tag แบบ manual
กรณีที่เป็นเว็บอื่นที่ไม่ใช่ Joomla (หรือไม่สามารถติดตั้ง Plugin เพิ่มเติมได้) สามารถใส่ tag เข้าไปเองได้ โดย
ในหน้า Anylytics คลิกที่ สตรีมข้อมูล จากนั้นคลิกรายการสตรีมข้อมูล
คลิกที่ ดูวิธีการติดแท็ก (View tag instruction) คลิกที่ No data received (ถ้าใส่ tag ในเว็บไปแล้วตรงนี้จะขึ้นเป็นข้อความสีเขียว ถ้าขึ้นตัวสีแดงแปลว่าตัวสตรีมยังไม่ได้เริ่มเก็บข้อมูล)
ในหน้าวิธีการติดตั้ง เลือก ติดตั้งด้วยตัวเอง
จากนั้น copy tag ทั้งหมดไปใส่ในเว็บไซต์ให้อยู่ภายใต้ <head> จากนั้นก็ลอง view code และเข้าไปเชคว่ามียอดเข้าดูหรือไม่ ถ้ามียอดเข้าดู แปลว่าวาง code ถูก
การตั้งค่า mail settings ให้ส่งออกจากเว็บไซต์โดยใช้ smtp ของ gmail แบบใหม่ (2-Step Verification)
ก่อนหน้านี้ช่วงประมาณสิ้นเดือน พฤษภาคม 65 google ประกาศว่าจะไม่สามารถใช้การตั้งค่า smtp แบบเดิมสำหรับการตั้งค่าอีเมลในเว็บไซต์ได้แล้ว ทำให้เว็บไซต์ที่เดิมใช้ gmail ในการตั้งค่า smtp สำหรับส่งเมลออกจากเว็บไซต์ใช้งานไม่ได้ เมลส่งไม่ออก!!!
แต่ google บอกว่า ถ้าจะใช้งาน gmail สำหรับ app อื่น ๆ จะต้องเปิดการใช้งาน 2-Step Verification ก่อน แล้วให้สร้างรหัสผ่านสำหรับ app ที่จะใช้งานจากนั้นเอารหัสผ่านอันนั้นน่ะไปใช้! ส่วนทำอย่างไร ไปดูกันเลย
2-Step Verification
1. login เข้าไปใน gmail ก่อน
2. จากนั้นเข้าไปที่ Manage your Google Account (ภาษาไทยใช้คำว่า จัดการบัญชี Google)
3. คลิกที่ Security (ภาษาไทยใช้คำว่า ความปลอดภัย) ดูตรง 2-Step Verification ใครที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานให้คลิก off คลิกที่ Get Started แล้วทำตามหน้าจอของระบบไปเรื่อย ๆ (ใครที่เปิดใช้งานอยู่แล้วตรงนี้จะขึ้นเป็น on)
สร้างรหัสผ่านสำหรับแอป
หลังจากที่เปิดใช้งาน 2-Step Verification แล้วจะสามารถสร้างรหัสผ่านสำหรับ app ได้
1. ไปที่ ความปลอดภัย (Security)
2. คลิกที่ รหัสผ่านสำหรับแอป
Note: ถ้าหาตรง รหัสผ่านสำหรับแอป ไม่เจอ ให้พิมพ์ในช่องค้นหาด้านบน (search google account) ค้นด้วยคำว่า App Passwords ระบบจะดึงหน้าจอ รหัสผ่านสำหรับแอป ขึ้นมาให้ จากนั้นทำตามขั้นตอนถัดไป
3. ระบบจะให้ login ซ้ำ
4. จากนั้นในหน้ารหัสผ่านสำหรับแอป ในช่องเลือกแอป ให้คลิก (ชื่อที่กำหนดเอง) อื่นๆ
5. พิมพ์ชื่อแอปลงในช่องว่าง (อาจจะใส่ชื่อเว็บตัวเองก็ได้ แล้วแต่จะตั้ง แนะนำให้ตั้งให้สอดคล้องกับการเอาไปใช้งาน) จากนั้นคลิกที่สร้าง
6. พอคลิกที่ สร้าง ปุ๊บ ระบบจะขึ้น popup เป็น รหัสผ่านของแอปสำหรับอุปกรณ์ ซึ่งจะเป็นตัวอักษร 16 หลัก ***ตรงนี้สำคัญมาก ให้ทำการ copy ตัวอักษรทั้ง 16 หลักเอาไว้ก่อน (ctrl + c) ถ้าใครไม่มั่นใจกลัวปิดหน้าจอไปก่อนอาจจะ print screen ทิ้งไว้เลยก็ได้ จากนั้นคลิกที่ เสร็จ
ตั้งค่า Mail Settings ในเว็บไซต์ Joomla!
หลังจากได้รหัสผ่าน 16 ตัวอักษรมาแล้ว ให้ไปที่ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ ไปที่ System > Global configuration จากนั้นคลิกที่แท็บ Server แล้วดูที่ Mail Setting แล้วตั้งค่าตามนี้
- Send Mail: Yes
- Disable Mass Mail: No
- From Email: ใส่อีเมล
- From Name: ใส่ชื่อเว็บไซต์ (อาจจะใส่ชื่อหน่วยงานก็ได้)
- Mailer: เลือกเป็น SMTP
- SMTP Host: smtp.gmail.com
- SMTP Port: 465
- SMTP Security: SSL/TLS
- SMTP Authentication: Yes
- SMTP Username: ใส่อีเมลที่เป็น gmail ในช่องนี้
- SMTP Password: เอารหัส 16 ตัวที่ได้จากตอนสร้างรหัสผ่านสำหรับแอปมาใส่ในช่องนี้ (กรณีที่เคยตั้ง smtp password ไว้แล้วคลิกที่ modify ท้ายช่องก่อน จะสามารถใส่รหัสผ่านใหม่ได้)
เสร็จแล้วคลิกที่ Sent Test Mail
ถ้าระบบขึ้นว่าส่งอีเมลไปที่ xxxx ให้ตรวจสอบอีเมล (ขึ้นแถบสีเขียวแบบในรูป) แปลว่าตั้งค่าสำเร็จแล้ว อย่าลืม Save & Close ก่อนออกจากหน้าจอ
เมื่อไปเชคอีเมล จะมีอีเมลส่งมาจากระบบเป็นข้อความ Test mail from (ชื่อเว็บไซต์) และมีข้อความว่า "This is a test mail sent using "SMTP". Your email settings are correct!"
เท่านี้ก็เป็นอันว่าตั้งค่าเรียบร้อย
==========================
อ้างอิง:
เปิดการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน
https://support.google.com/accounts/answer/185839?hl
ลงชื่อเข้าใช้ด้วยรหัสผ่านสำหรับแอป
มาตรฐาน WCAG 2.0 คืออะไร สำคัญอย่างไรกับเว็บ
มาตรฐาน WCAG 2.0 มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเว็บไซต์
มาตรฐาน WCAG 2.0 คืออะไร
WCAG 2.0 (Web Content Accessibility Guidelines 2.0) เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) เพื่อเป็นแนวทางในการทำให้เนื้อหาบนเว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ทุกคน รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การได้ยิน การมองเห็น และการเข้าใจ โดยมีหลักการสำคัญ 4 ข้อ ซึ่งประกอบด้วย:
-
รับรู้ได้
Perceivable
ข้อมูลและส่วนประกอบของอินเตอร์เฟซผู้ใช้จะต้องแสดงในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ ซึ่งรวมถึง:
- ข้อความทางเลือกสำหรับเนื้อหาที่ไม่ใช่ข้อความ (เช่น ภาพ หรือวีดีโอ)
- ความแตกต่างที่ชัดเจนของสีและขนาดของข้อความเพื่อให้สามารถอ่านได้ง่าย
- การจัดลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถเข้าใจและใช้ได้โดยไม่ต้องอาศัยการมองเห็นทั้งหมด
-
ใช้งานได้
Operable
ส่วนประกอบของอินเตอร์เฟซผู้ใช้และการนำทางจะต้องใช้งานได้ ซึ่งรวมถึง:
- ความสามารถในการใช้คีย์บอร์ดในการนำทาง
- การให้เวลาเพียงพอในการอ่านและใช้เนื้อหา
- การหลีกเลี่ยงการใช้เนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ (เช่น เนื้อหาที่มีการกระพริบ)
-
เข้าใจได้
Understandable
ข้อมูลและการทำงานของอินเตอร์เฟซผู้ใช้จะต้องเข้าใจได้ง่าย ซึ่งรวมถึง:
- การใช้ภาษาที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา
- การให้คำแนะนำในการป้อนข้อมูล
- การทำให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน (เช่น เมนูการนำทางจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่คงที่
-
แข็งแรงพอ
Robust
เนื้อหาจะต้องมีความแข็งแรงพอที่จะสามารถตีความได้อย่างถูกต้องโดยหลากหลายโปรแกรมรวมถึงเทคโนโลยีช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง:
- การใช้มาตรฐานของ HTML/CSS อย่างถูกต้อง
- การทดสอบเว็บไซต์กับเทคโนโลยีช่วยเหลือต่าง ๆ
มาตรฐาน WCAG 2.0 มีระดับการปฏิบัติตาม 3 ระดับ คือ A (ขั้นพื้นฐาน), AA (ขั้นกลาง), และ AAA (ขั้นสูงสุด) ซึ่งเว็บไซต์จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการและกลุ่มเป้าหมายของตนเอง
การปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้เว็บไซต์เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ที่มีความบกพร่องหรือไม่ก็ตาม
การปฏิบัติตามมาตรฐาน WCAG 2.0 มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเว็บไซต์
-
เพิ่มการเข้าถึงสำหรับผู้ใช้ทุกคน
Increase accessibility
การทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน หรือการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการได้เท่าเทียมกัน ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้ที่สามารถใช้งานเว็บไซต์ของคุณได้
-
ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด
Comply with laws and regulations
หลายประเทศมีกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการเข้าถึงของเว็บไซต์ เช่น Section 508 ในสหรัฐอเมริกา หรือกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงในสหภาพยุโรป
สำหรับของประเทศไทย มีใน มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ Government Website Standard
การปฏิบัติตามมาตรฐาน WCAG 2.0 ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้
-
ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้
User Experience
เว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ง่ายมักมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ทุกคน ไม่เพียงแต่สำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง แต่ยังรวมถึงผู้ใช้ที่อาจมีข้อจำกัดชั่วคราว เช่น ผู้ใช้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ช้า หรือใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก
-
ขยายกลุ่มผู้ใช้และลูกค้า
Expand the group of users and customers
การทำให้เว็บไซต์เข้าถึงได้สำหรับทุกคนช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมและลูกค้าของคุณได้
-
ปรับปรุง SEO
Search Engine Optimization
หลักการบางอย่างของ WCAG เช่น การใช้ข้อความทางเลือกสำหรับรูปภาพ และการจัดลำดับเนื้อหาอย่างถูกต้อง มีผลดีต่อการทำ SEO ซึ่งช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจินได้ดีขึ้น
-
เพิ่มความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ขององค์กร
Increase the credibility and image of the organization
เว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรของคุณใส่ใจและให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้ทุกคน ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
การปฏิบัติตามมาตรฐาน WCAG 2.0 จึงไม่เพียงแค่เป็นการทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ทั้งหมด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
หากคุณมีเว็บแล้วต้องการทีมงาน เพื่อช่วยแก้ไขให้คำปรึกษา เกี่ยวกับ การปฏิบัติตามมาตรฐาน WCAG 2.0 ไม่ว่าจพเป็นเว็บบริษัท เว็บขายของ เว็บราชการ หน่วยงานของรัฐ ปรึกษาเทีมงาน บริษัท คัลเลอร์แพค ครีเอชั่น จำกัด
Joomla 4.2.4 อัพเดตด้านความปลอดภัย
Joomla 4.2.4 พร้อมใช้งานแล้ว นี่เป็นรุ่นแก้ไขความปลอดภัยสำหรับ Joomla รุ่น 4.x ซึ่งแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 2 รายการ
Joomla 4.1.5 และ 3.10.10 พร้อมใช้งานแล้ว
Joomla 4.1.5 และ 3.10.10 พร้อมใช้งานแล้ว นี่เป็นรุ่นแก้ไขข้อผิดพลาดสำหรับ Joomla ทั้งรุ่น 4.x และ 3.x ซึ่งมีการแก้ไขจุดบกพร่องและการปรับปรุงต่างๆ นี่จะเป็นรุ่นสุดท้ายในซีรีส์ 4.1 ตอนนี้โฟกัสเปลี่ยนเป็นการทำให้ 4.2 เสถียร
มีอะไรบ้างใน 4.1.5?
Joomla 4.1.5 มีการแก้ไขข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้
แก้ไขข้อผิดพลาดและการปรับปรุงด้วย 4.1.5
- การระบายสีแท็กในช่องที่เลือก#37140
- แก้ไขคำเตือนการเลิกใช้ PHP 8.1
- ปรับปรุงความช่วยเหลือแบบอินไลน์#37917
- แก้ไขรหัสผ่านผู้ใช้ API #37994
ไปที่ GitHub เพื่อดูรายการการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมด
ใน 3.10.10 มีอะไร?
แก้ไขข้อผิดพลาดและการปรับปรุงด้วย 3.10.10
- ปรับปรุงไอคอนด่วนสำหรับการอัปเดตหลักรวมถึงข้อความอัปเดตที่ไม่รองรับ #36950 ( https://github.com/joomla/joomla-cms/pull/36950 )
- ลิงก์จากแท็กตัวเลขทำให้เกิดข้อผิดพลาด 404 #37815 ( https://github.com/joomla/joomla-cms/pull/37815 )
ไปที่ GitHub เพื่อดูรายการการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมด
ฉันจะดาวน์โหลด Joomla 4.1.5 และอัปเดตล่าสุดของ Joomla 3.10 series, Joomla 3.10.10 ได้ที่ไหน
บนเว็บไซต์ดาวน์โหลดแน่นอน :)
การติดตั้งใหม่
คำแนะนำในการติดตั้งใหม่ และ ข้อกำหนดทางเทคนิค
อัพเกรด
จูมล่า 4.1.4 มาแล้ว
Joomla 4.1.4 พร้อมใช้งานแล้ว นี่เป็นรุ่นแก้ไขข้อบกพร่องสำหรับ Joomla รุ่น 4.x ซึ่งมีการแก้ไขข้อผิดพลาดและการปรับปรุงต่างๆ
มีอะไรบ้างใน 4.1.4?
Joomla 4.1.4 มีการแก้ไขข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้
แก้ไขข้อผิดพลาดและการปรับปรุงด้วย 4.1.4
- แก้ไขการเรียงลำดับรายการซ้ำซ้อน ( #37781 )
- เพิ่มการจัดเรียงตัวจัดกำหนดการตามการเรียกใช้ครั้งล่าสุด ( #37501 )
- แก้ไขบั้งสลับในการกำหนดเมนูโมดูล ( #37734 )
- ตั้งค่าสถานะ 'ปลอดภัย' ในคุกกี้ของเซสชันหากบังคับใช้ TLS ( #37777 )
- แสดงชื่อขั้นตอนเวิร์กโฟลว์ในมุมมองรายการบทความ ( #37748 )
- แก้ไข save2copy สำหรับเมนู ( #37813 )
- อัปเดตเป็น NODE เวอร์ชัน 16 ( #37757 )
ไปที่ GitHub เพื่อดูรายการการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมด
ฉันจะดาวน์โหลด Joomla 4.1.4 ได้ที่ไหน
บนเว็บไซต์ดาวน์โหลดแน่นอน :)
การติดตั้งใหม่
คำแนะนำในการติดตั้งใหม่ และ ข้อกำหนดทางเทคนิค
อัพเกรด
Joomla 4.1.1 และ Joomla 3.10.7 แก้ไขเรื่องความปลอดภัย
Joomla 4.1.1 & 3.10.7 พร้อมให้ใช้งานแล้ว นี่เป็นรุ่นความปลอดภัยสำหรับ Joomla รุ่น 4.x และ 3.x ซึ่งแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบางประการและมีการแก้ไขจุดบกพร่องและการปรับปรุงต่างๆ