มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
(Government Website Standard)
สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ
ซึ่งมีเนื้อหาในเว็บที่ถูกกำหนดให้มีและแสดงแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้
เนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐ (Government 1 Website Contents)
เนื้อหาที่ควรมีในการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภาครัฐ เพื่อให้บริการประชาชน ธุรกิจเอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนบริการของหน่วยงาน
1.1) เกี่ยวกับหน่วยงาน
-
- ประวัติความเป็นมา
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ
- โครงสร้างหน่วยงาน ผู้บริหาร อำนาจหน้าที่
- ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน
- ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ
- แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
- คำรับรอง และรายงานผลการปฏิบัติราชการ
- ข้อมูลการติดต่อ ประกอบด้วย ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร และแผนที่ตั้งหน่วยงาน เป็นต้น
- ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Address) ของบุคคลภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูล เช่น ผู้ดูแล เว็บไซต์ (Webmaster) เป็นต้น
1.2) ข้อมูลผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง(Chief Information Officer: CIO)
-
- รายละเอียดเกี่ยวกับซีไอโอ ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล และตำแหน่ง
- ข้อมูลการติดต่อ ประกอบด้วย ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Address) เป็นต้น
-
วิสัยทัศน์ และนโยบายต่างๆ ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้แก่ นโยบายการ บริหารจัดการด้าน ICT, นโยบายและมาตรฐานการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยด้าน ICT เป็นต้น
-
การบริหารงานด้าน ICT เช่น ยุทธศาสตร์, แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ เป็นต้น
-
ข่าวสารจากซีไอโอปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
1.3) ข่าวประชาสัมพันธ์ – ข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป
-
- ข่าวสารและประกาศของหน่วยงาน เช่น ประกาศรับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดฝึกอบรม เป็นต้น
- ปฏิทินกิจกรรมของหน่วยงาน
1.4) เว็บลิงค์
-
- ส่วนงานภายใน
- หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง
- เว็บไซต์อื่นๆ ที่น่าสนใจ
1.5) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
-
- กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา
- กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ แนว
- ปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยแสดงที่มาของข้อมูลที่นำมาเผยแพร่
1.6) ข้อมูลการบริการ
-
- แสดงข้อมูลการบริการตามภารกิจของหน่วยงาน พร้อมคำอธิบายขั้นตอนบริการ โดยจะแสดงขั้นตอนการให้บริการต่างๆ แก่ประชาชน ทั้งนี้ควรระบุระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนของการให้บริการนั้นๆ
1.7) แบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดได้ (Download Forms)
-
- ส่วนที่ให้บริการประชาชนสำ หรับ Download แบบฟอร์มต่างๆ ของหน่วยงาน
1.8) คลังความรู้
-
- ผลงานวิจัย บทความ กรณีศึกษา ข้อมูลสถิติต่างๆข้อมูล GIS และ e-Book เป็นต้น ตลอดจนต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มา (Reference) และวัน เวลา กำกับเพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
1.9) คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
-
- ส่วนที่แสดงคำถาม และคำตอบที่มีผู้นิยมสอบถาม
1.10) ผังเว็บไซต์(Site map)
-
- ส่วนที่แสดงแผนผังเว็บไซต์ทั้งหมด
2) การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ
2.1) ถาม – ตอบ (Q & A)
-
- ส่วนที่ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามข้อมูล หรือข้อสงสัยมายังหน่วยงาน
2.2) ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
-
- ส่วนที่เป็นบริการสืบค้นข้อมูลทั่วไป และข้อมูลภายในหน่วยงานได้
2.3) ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
-
- ช่องทางแจ้งข่าว หรือแจ้งเตือนผู้ใช้ เช่น SMS, e-Mailเป็นต้น
- ช่องทางการติดต่อหน่วยงานในรูปแบบ SocialNetwork เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น
- ช่องทางแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ เช่น e-Mail, Web board, Blog เป็นต้น
- ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน และติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน
2.4) แบบสำรวจออนไลน์ (Online Survey)
-
- การสำรวจความพึงพอใจการใช้บริการเว็บไซต์
- การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Online Poll)
- การออกเสียงลงคะแนนต่างๆ (Online Voting)
3) การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
3.1) การลงทะเบียนออนไลน์(Register Online)
- ส่วนที่เป็นแบบฟอร์มสำหรับบันทึกชื่อผู้ใช้บริการและรหัสผ่านก่อนเข้าใช้งานระบบ (Login Form) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน
- ระบบตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน และสามารถแจ้งเตือนกรณีที่ชื่อผู้ใช้ หรือรหัสผ่านไม่ถูกต้อง (Check user name/password)
- ระบบจัดการกรณีลืมรหัสผ่าน กรณีที่ผู้ใช้ลืมรหัสผ่านระบบสามารถดำเนินการส่งรหัสผ่านให้ใหม่ได้
3.2) e-Forms / Online Forms
- ส่วนที่ให้บริการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ โดยไม่ต้อง Download เอกสาร และสามารถพิมพ์เอกสาร หรือบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
3.3) ระบบให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
- ระบบให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามภารกิจของหน่วยงาน
3.4) การให้บริการเฉพาะบุคคล(Personalized e-Services) ในลักษณะที่ ผู้ใช้บริการสามารถกำหนดรูปแบบส่วนตัวในการใช้บริการเว็บไซต์ได้
- มีบริการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลสำหรับผู้ลงทะเบียน
- ผู้ใช้บริการสามารถกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ต้องการและจัดอันดับเนื้อหาที่สนใจได้
- มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลของผู้ลงทะเบียนแบบอัตโนมัติ ตามพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
- เว็บไซต์สามารถนำเสนอหัวข้อข่าว/ข้อมูล/บริการ ที่ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้งานครั้งล่าสุดได้ (Last Visited)
- มีการปรับปรุงการให้บริการของหน่วยงานผ่านทางเว็บไซต์ จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
- มีระบบรายงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานได้ตามความต้องการ (DynamicReport)
ที่มา
หนังสือมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
(Government Website Standard)